พระรอดลำปางหลวง

พระรอดลำปางหลวง สำฤทธิ์ พระมากประสบการณ์ ได้ทำการจัดมหาพุทธาภิเษก เพื่อเป็นขวัญกำลังให้
ทหารต่อสู้รบสมรภูมิสงครามอินโดจีน ว่ากันว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยทรงร่วมพิธีนี้ด้วย และมียังมีสุดยอดพระแห่งยุคนั้น ทั้งหลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง และหลวงพ่ออี๋ ร่วมพิธี
พระรอดลำปางหลวง สร้างที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง พระรอดลำปางหลวงเป็นพระเครื่องเนื้อโลหะทองผสมที่ได้รับการสร้างขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะนั้นท่านพระครูประสาทศรัทธาเป็นเจ้าอาวาส สอบถามท่านผู้เฒ่าผู้แก่ในลำปางบางท่านได้ความว่า สร้างในระหว่างปี พ.ศ. 2475-2477 ปีใดปีหนึ่ง ขณะนั้นทางท่านพระครูฯได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุอันเก่าแก่อายุนับพันปีภายในวัด องค์พระธาตุ
นี้ได้บูรณะใหญ่มาหลายครั้ง ครั้งใหญ่สุดท้ายกระทำเมื่อปี พ.ศ. 2309 องค์พระธาตุกว้าง 12 วา สูง 22 วา ก่ออิฐถือปูน ภายนอกฉาบด้วยทองเหลืองและทองแดง ในการบูรณะคราวนั้นท่านพระครูฯได้ทำการซ่อมแซมรั้วเหล็กที่ล้อมองค์พระธาตุที่ทายาทเจ้านายฝ่ายเหนือสายเจ้าทิพช้างหร ือเจ้าพระยาฤาไชยสงคราม ซึ่งเป็นเจ้าครองนครลำปางในอดีตเป็นผู้สร้างไว้
สุดยอดอีองค์ ของพระเครื่องล้านนา

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชียปี2482 สุดยอดพระเครื่องล้านนา

เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชียปี2482 สุดยอดเเหรียญมงคลและหายากราคาแพง แห่งพระเครื่องล้านนา จัดสร้างโดยคณะศิษย์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูบาและเพื่อร่วมทำบุญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพของครูบาที่จะมีขึ้นวัดจามเทวี ลำพูน ในวันที่21มีนาคม2489 โดยให้ร้านอมราภรณ์ ตึกดิน แกะพิมพ์(ร้านนี้มีชื่อเสียงเพราะเคยแกะเหรียญวัดราชบพิตรปี2481ได้รับความนิยม) แล้วนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดราชบพิตร ปี2482(16 ธันวาคม)พิธีใหญ่ครั้งที่5ของวัดราชบพิตร
พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังนี้
1พระธรรมเจดีย์วัดสระเกศ
2หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
3พระธรรมทานาจารย์วัดระฆัง
4หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ไชยชุมพล กาญจนบุรี
5หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
6หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง นนทบุรี
7หลวงพ่อโศก วักปากคลอง เพชรบุรี
8หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
9หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
10หลวงพ่อเลียบ วัดเลา พระนคร
11หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
12หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสงคราม
13หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
14หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
15หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อยุธยา
16หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
17หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
18หลวงพ่อจง วักหน้าต่างนอก อยุธยา
19หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์(มาแทนหลวงพ่อเดิม)
20หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ชุมพร
21พระปลัดมา วัดราชบูรณะ  พระนคร
เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 ออกทำบุญที่วัดจามเทวี ลำพูน ในพิธีศพของครูบาฯเมื่อ21มีนาคม2489 มีเนื้อเงิน(กรรมการ) ทองแดง ทองฝาบาตร และเนื้อตะกั่ว มี2บล๊อคคือ บล๊อค2ชาย และบล๊อค3ชาย
ทุกเหรียญจะเป็นแบบหูเชื่อม ซึ่งจะมีตั้งบูทหน้าวัดเพื่อ รับเชื่อมหูเหรียญครูบาเจ้าศรีวิชียปี2482 สุดยอดพระเครื่องล้านนา 

เคดิตข้อมูล จาก http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/58572/Page/1

อริยะสงฆ์แห่งล้านนามีองค์ใดบ้าง

อริยะสงฆ์แห่งล้านนามีองค์ใดบ้าง
1.ครูบเาเจ้าศรีวิชัย แห่งวัดบ้านปาง
2.ครูบาขาวปี แห่งวัด ผ่าหนาม
3.ครูบาชัยวงศ์ษา แห่ง วัดพระบาทห้วยต้ม
4.ครูบาสุรินทร์ แห่งวัด ศรีเตี้ยลำพูน
5.ครูบาพรหมมา แห่ง วัดพระบาทตากผ้า
5.หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง
6.หลวงพ่อเกษม เขมโก แห่ง สุสานไตรลักษณ์
7.หลวงปู่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปัีง
8.ครูบาสิริ(ครูบาผีกลัว) แห่งวัดปากกอง
9.ครูบาดวงดี ยติโก แห่ง วัดบ้านฝ่อน
10.ครูบา ดวงดี แห่งวัด ท่าจำปี
11.ครูบา ชุ่ม อห่ง วัดวังมุย
12.พระอาจารย์เปลี่ยน วัดป่าอรัญวิเวก อ.แม่แตง สายวัดป่าครับ  พระอาจารย์ประสิทธิ์ วัดป่าหมู่ใหม่ สายวัดป่าเช่นกัน
13.ครูบาผดุง วัดล้านตอง (ขอคำแนะนำจากในสวนฯ ได้ครับองค์นี้)
14.ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล (ตะกรุดก่าสะท้อนของท่านดังมากครับ)
15.ครูบาเสน่ห์ วัดเชียงขาง (สายเสน่ห์และสายพรายเลยครับ)
16.ตุ๊ป้อวัลลภ วัดดอยแท่นพระผาหลวง อ.แม่โจ้ (วิชาตบทองเข้าตัวของท่านเด็ดขาดสุด ๆ
17.ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง สายครูบาศรีวิชัยครับ
18.ตุ๊ป้อบุญรัตน์ วัดโขงขาว อ.หางดง (ที่วัดนี้จะมีของที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำเสกเหลืออยู่ด้วยครับ)
19.พระอาจารย์ต้น วัดทุ่งเกี๋ยง อ.สันป่าตอง (องค์นี้รับประกันว่าของท่านเหนียวจริง ๆ โดยเฉพาะตะกรุดหาของไม่ได้เลย)
และอื่นอีกมาก มาย ตนบุญ นักขนาดเมืองบุญเมืองพระโดยแท้

ว่าด้วยเรื่องของครูบาเจ้าศีลธรรม

ว่าด้วยเรื่องของครูบาเจ้าศีลธรรม
ครูบาศรีวิชัย เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในขณะเกิดปรากฎว่าฝนตกหนักฟ้าร้องดังกึกก้องตลอดเวลา บิดาและมารดาจึงตั้งชื่อว่า"อินทะเฟือน" ซึ่งแปลว่า "ฟ้าร้อง" เมื่ออายุได้ ๑๘ ปีได้บวชเณรตั้งแต่ยังเล็กได้บุญยิ่งกว่าบวชพระ เพราะเด็กยังมีความบริสุทธิ์อยู่ต่อมาจึงได้อุปสมบทเป็นพระ"ศรีวิชัย"ได้ศึกษาเล่าเรียนทางวิปัสสนาจนมีความ
รู้แตกฉานเป็นที่เคารพของชาวเมืองทั่วไปจนพากันเรียกว่า"ครูบา"ซึ่งหมายถึงพระภิกษุอาวุโส ตลอดชีวิตของครูบาศรีวิชัยได้บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากเป็นที่ศรัทธาของ
สานุศิษย์ เพียงออกปากก็ได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือเป็นอย่างดีเช่นการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพการบูรณะ
วัดสวนดอก บูรณะวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นต้นครูบาศรีวิชัย ถึงมรณภาพลงเมื่อวนัที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน อายุ ๖๐ ปีเศษพรรษได้ ๔๐ พรรษา

บทความจาก http://www.med.cmu.ac.th/

พระรอดมหาวันพิมพ์เล็ก

พระรอดมหาวันพิมพ์เล็ก
 พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5     พ.ศ. 2435
พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก

เหรียญพระเจ้าตนหลวง ต.บน (นิยม)


ตำนานพระเจ้าตนหลวง ตำนานทุ่งเอี้ยง ตำนานการสร้างพระเจ้าตนหลวง กล่าวไว้ว่า เมื่อสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงเมืองภูกามยาว พร้อมพระอานนท์ ประทับ ณ ดอยลูกหนึ่งตั้งอยู่ข้างหนองเอี้ยง ไปทางทิศเหนือ (ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดจอมทอง) ในหมู่บ้านนั้นมีนายช่างทอง อาชีพทำทองรูปพรรณ ได้จัดอาหารบิณฑบาตถวายพระพุทธองค์ แต่มิได้ถวายน้ำฉัน พระพุทธองค์จึงให้พระอานนท์ถือบาตรไปตักน้ำที่หนองเอี้ยง ขณะนั้นมี “พญานาค” ตนหนึ่งอาศัยอยู่ในหนองนั้น เมื่อเห็นพระอานนท์ถือบาตรจะตักน้ำ พญานาคก็ไม่ให้ ได้พ่นควันขึ้นที่หงอน แผ่พังพานเป็นประดุจหมอกควัน ปกคลุมหนอง จนมองไม่เห็นน้ำ
              พระอานนท์จึงไป กราบบังคมทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงเสด็จไปประทับยืนข้างหนองน้ำ พญานาคทำทีจะพ่นควันแผ่พังพอน แต่เห็นพระวรกายของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยฉัพพรรณรังสี จึงทูลถามพระพุทธองค์  พระพุทธองค์ได้แนะนำตัวและแสดงอภินิหารเนรมิตพระวรกายให้ใหญ่เท่ากับพระพุทธเจ้ากะสุสันธะ
              พญานาคเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใส และรับปากว่าจะสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่เท่าพระพุทธเจ้ากะสุสันธะในหนองนั้น
              เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ประมาณ ๒,๐๐๐ ปี พญานาคระลึกถึงพระพุทธดำรัส จึงนำเอาทองคำจำนวนสี่แสนห้าร้อยจากนาคพิภพมาไว้ แล้วเนรมิตเพศเป็นบุรุษ นุ่งขาวห่มขาว ไปหาสองผัวเมีย ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้หนองเอี้ยง พร้อมกับแจ้งความประสงค์ที่จะนำทองคำมาสร้างพระพุทธรูปให้สองตายาย
              เมื่อมอบทองคำให้แล้วก็กลับไปสู่นาคพิภพ  สองผัวเมียได้นำทองคำมาถมสระหนองอยู่นานถึง ๒ ปี ๗ เดือนจึงเต็ม จากนั้นได้ลงมือปั้นอิฐก่อพระพุทธรูป “พระเจ้าตนหลวง” โดยเริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๐๓๔ สร้างนานเกือบ ๓๓ ปี จึงเสร็จเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ ในสมัยพระเมืองตู้เจ้าเมืองพะเยา โดยได้พระราชทานนามว่า “พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา”

พระพุทธคุณ เหรียญพระเจ้าตนหลวง  แทบทุกรุ่น โดยเฉพาะรุ่นปี ๒๕๑๒ ได้ประจักษ์แจ้งถึงพุทธคุณอันยอดเยี่ยม ทั้งแคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม มีตำนานเล่าขานมากมาย

บทความจาก http://www.komchadluek.net/

เหรียญครูบาหน้าหนุ่มประคำเม็ด

เหรียญครูบาหน้าหนุ่มประคำเม็ด 

เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ครูบาเจ้าศรีวิชัย มรณภาพ ที่วัดบ้างปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน สิริอายุได้ ๕๙ ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา ๑ ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน จนกระทั่งวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙  จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วมในพิธีพระราชทานเพลิงศพจำนวนมาก และประชาชนเหล่านั้นได้เข้าแย่งชิงอัฏฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอดสนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไปสักการบูชา อัฏฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๗ ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่างๆ ทั่วแผ่นดินล้านนา รวมทั้งที่วัดวัดบ้านปางด้วย

              สำหรับภาพพระองค์ครูฉบับนี้เป็น เหรียญครูบาศรีวิชัย หน้าหนุ่มประคำเม็ดสุดยอดเหรียญยอดนิยม ออกวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน จากหนังสือ "๓๙ ครูบาเมืองเหนือ" จัดทำโดยวัดบ้านปาง และนายสุทธิโรจน์ ติฐาปนโชติวัฒนะ ซึ่งมีผลงานเกี่ยวกับจัดทำหนังสือรวมเหรียญพระสายป่า สายอีสาน รวมทั้งสายเหนือหลายเล่ม ทั้งนี้ได้รวบรวมประวัติและภาพวัตถุมงคล ๓๙ ครูบาเมืองเหนือที่ได้รับความนิยม และสะสมกันในปัจจุบัน ฉบับสมบูรณ์อีกเล่มหนึ่ง

              เหรียญครูบาศรีวิชัย ออกวัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน รุ่นนี้เป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปครูบาศรีวิชัยครึ่งองค์ มีอักษรว่า "พระครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย" ด้านหลังมีอยู่ด้วยกัน ๒ พิมพ์ คือ หลังยันต์น้ำเต้า และหลังยันต์พระธาตุดอยสุเทพ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดกะไหล่ทอง และเนื้อตะกั่วลองพิมพ์ แบ่งเป็น ๕ บล็อกดังนี้

เหรียญตัดรุ้ง ครูบาอิน อินโท

เหรียญรุ่น ตัดรุ้ง นี้ แต่เดิมไม่ได้ชื่อรุ่นตัดรุ้ง แต่เป็นชื่อรุ่น ลายเซนต์
 

ด้วยเหตุเพราะด้านหลัง แกะพิมพ์ลายมือหลวงปู่ เขียนชื่อท่านว่า
ครูบาอิน อินโท"ขอให้รวย ขอให้อยู่ดีมีสุข"
1. เหรียญทองคำ เหรียญยืน 9 เหรียญ  เหรียญรุปไข่  9 เหรียญ
2.เหรียญเงิน แบบละ 309 เหรียญ
3.เหรียญเงินลงยา 3 สี (เขียว, น้ำเงิน, แดง) เหรียญยืน 309 เหรียญไข่ 309 (สีละ 103 เหรียญ)
4. เหรียญทองแดงรมดำ แบบละ 2,500 เหรียญ รวม 5,000 เหรียญ
5. เหรียญตะกั่ว แบบละ 20 เหรียญ
ล็อคเกต
1. ล็อกเกตใหญ่ หลังเคลือบ พร้อมห่วง  600 องค์ (มี 3 สี สีละ 200 องค์)
2. ล็อกเก็ตใหญ่ หลังอุดผง สร้าง 700 องค์ (มี 3 สี สีละประมาณ 200 กว่าองค์)
3. ล็อกเกตเล้ก หลังเคลือบ พร้อมห่วง  300 องค์ (มี 3 สี สีละ 100 องค์)

รูปหล่อ ๑๐๐ ปี
1.รูปหล่อตั้งหน้ารถ พร้อมครอบพลาสติด (หน้าตักประมาณ 2 นิ้ว) 309 องค์
2. รูปหล่อบูชานั่งหน้าตัก 5 นิ้ว 209 องค์
3. รูปหล่อบูชายืนถือไม้เท้า สูง 9 นิ้ว 209 องค์


กองพันลำปาง"เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก"

กองพันลำปาง"เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก"พระเครื่องล้านนา
 เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก กองพันลำปาง ปี ๒๕๑๗ ผู้สร้างทหารบกลำปาง จำนวนรวมทั้งหมด ๒๕๑๓ เหรียญ แยกชนิดดังนี้ เหรียญทองแดงจำนวน ๒,๐๐๐ เหรียญ นวะโลหะ ๒๐๐ เหรียญ เงิน ๓๐๐ เหรียญ ทองคำ ๑๓ เหรียญ วัตถุประสงค์ เพื่อแจกจ่ายในหมู่ทหารผู้ใหญ่ เป็นเหรียญที่มากประสบการณ์ในเรื่องแคล้วคลาดมาหลายสมรภูมิและเป็นเหรียญที่แกะบล็อกได้สวยงามและเหมือนหลวงพ่อที่สุด "พระเครื่องล้านนา"








ปี 2513 เหรียญรุ่นแรก เหรียญหน้าวัว หลวงปู่แหวน

ปี 2513 เหรียญรุ่นแรก เหรียญหน้าวัว หลวงปู่แหวน  
ในปี พ.ศ 2514 หนังสือพิมพ์รายวันทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ต่างพากันพาดหัวข่าวใหญ่ว่า “หลวงปู่แหวนลอยอยู่บนก้อนเมฆ ขวางทางเครื่องบิน เหนือดอยแม่ปั๋ง” นั่นคือเรื่องราวปาฏิหาริย์ของพระกรรมฐานศิษย์สาย “พระอาจารย์ใหญ่มั่น” อีกท่านหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เป็นตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของพระอริยสงฆ์ องค์สำคัญของประเทศ เป็นที่มาของวัตถุมงคลจำนวนมากหลากรุ่นของหลวงปู่ที่ผู้คนขอจัดสร้าง แต่ถ้าถามถึงเหรียญหายากมากๆคงต้องเป็นเหรียญพิมพ์ “ดอกหน้าวัว” ที่นับว่าเป็นรุ่นแรกจริงๆ เพราะสร้างก่อนเหรียญกลมครึ่งองค์ที่ถูกเรียกว่า “รุ่น1” ซึ่งสร้างต่อมาในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยเหรียญพิมพ์ “ดอกหน้าวัว”นี้ มีคุณสุนทร จันทรวงศ์ เป็นผู้จัดสร้างในช่วงปีพ.ศ. 2512-2513 มีเนื้อเงิน 10 เหรียญ และเนื้อทองแดงราว 1,000 เหรียญ

พระเครื่องล้านนา"ครูบาศรีวิชัย 2517"

พระเครื่องล้านนา"ครูบาศรีวิชัย 2517" "เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง ปี 2517" นี้ มี พระเจ้าวรวงศ์

เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล เป็นประธาน คุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แกะแม่พิมพ์ โดยช่างฝีมือในยุคนั้นคือ ช่างยิ้ม ยอดเมือง ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 24 ตุลาคม 2517 ที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน โดย ท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที เจ้าคณะภาคเหนือธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์ ผู้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกล้วน เป็นพระอริยสงฆ์ดังแห่งเมืองเหนือทั้งสิ้น อาทิ ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาอินทจักร์ วัดน้ำบ่อหลวง, ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล, ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย, หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดสันติธรรม, ครูบาชัยวงศ์ษา วัดพระบาทห้วยต้ม, ครูบาทึม วัดจามเทวี และ ครูบาสิงห์ชัย วัดป่าซางงาม เป็นต้น ตลอดการประกอบพิธีพุทธาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุอัศจรรย์มีเสียงฟ้าร้องคำราม พร้อมปรากฏการณ์พระจันทร์ทรงกลดทั่วบริเวณ งานพิธี เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง ปี 2517 จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ จำนวน 9 เหรียญ เนื้อเงิน 579 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 3,559 เหรียญ และเนื้อทองแดง 5,625 เหรียญ นอกจากนี้ยังมี ล็อกเกตลงหิน อีก 227 อัน เหรียญทองคำ ไม่มีหู และไม่มีการตอกโค้ด เหรียญเงินก็ไม่มีหู แต่มีการตอกโค้ดตัว 'ศ' และ 'ช' เช่นเดียวกับล็อกเกต ส่วนเหรียญนวโลหะตอกตัว 'ศ' และเหรียญทองแดงตอกตัว 'จ' เหรียญรุ่นนี้มี 2 บล็อกคือ พิมพ์เศียรหนามและพิมพ์เศียรโล้น เนื่องจากพอปั๊มเหรียญใกล้ครบ บล็อกแม่พิมพ์เกิดชำรุดจึงได้นำเหรียญพิมพ์เศียรหนามมาถอดพิมพ์และปั๊มขึ้นใหม่ เป็น 'พิมพ์เศียรโล้น' จนครบตามจำนวนที่กำหนด ทำให้พิมพ์เศียรหนามจะมีจำนวนการสร้างมากกว่า โดย เหรียญทองคำ และเหรียญเงิน เป็นพิมพ์เศียรหนามทั้งหมด ส่วนเหรียญนวโลหะและทองแดง มี 2 บล็อก ในวงการ 'พิมพ์เศียรหนาม' ได้รับความนิยมมากกว่า 'พิมพ์เศียรโล้น'
สุดยอดมงคล  "พระ ล้าน นา ครูบา ล้าน นา"

ว่าด้วยพระรอดมหาวัน


พระเครื่องล้านนา อันดับ 1 พระรอดมหาวัน 

 พระรอดมหาวันมีอายุมามากกว่า 1300 ปี ในสมัยของเจ้าแม่จามเทวีผู้ครองนครหิริปุนชัย พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
1.พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 
2.พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด
3.จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด
4.พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก